งานศพ งานฌาปนกิจศพ 9 ขั้นตอน
งานศพเป็นงานที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก ผู้คนในสังคมต่างมองกันว่าการตายการฌาปนกิจศพเป็นเรื่องไกลตัว เป็นงานต้องห้ามหรืองานอัปมงคลไม่มีใครอย่างข้องเกี่ยว แต่เมื่อถึงเวลาต้องจัดการเกี่ยวกับการฌาปนกิจให้กับบุคคลอันเป็นที่รักของเรา จึงเป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาขั้นตอนต่างๆกับผู้ให้บริการงานด้านนี้เป็นหลัก ซึ้งต้องบอกว่างานศพเต็มไปด้วยพิธีกรรมและขั้นตอนต่าง ๆ มีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้จัดงาน
เมื่อต้องรับมือกับ "สถานการณ์ที่ไม่พร้อม" หากได้มืออาชีพที่มีประสบการณ์เข้ามาช่วยจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทุกสิ่งจะเป็นเรื่องที่ง่ายลงมาก
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
หลังจากมีการเสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกบพิธ งานศพมีดังต่อไปนี้
- แจ้งตาย
- การนำศพไปวัด
- การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
- การจัดศพลงหีบ
- งานบำเพ็ญกุศล งานสวดอภิธรรม
- กรณีญาติประสงค์จะบรรจุเก็บศพ เช่น 100 วัน
- การฌาปนกิจศพ
- การเก็บอัฐิ
- การลอยอังคาร
1. เมื่อเสียชีวิต (การแจ้งตาย)
การเสียชีวิต ณ โรงพยาบาล
ให้ขอรับหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล ซึ่งทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ นำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนักงานทะเบียนหรือเขตท้องถิ่น นำหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตายเพื่อขอรับใบมรณบัตร สำหรับโรงพยาบาลแบงแห่งจะมีบริการจัดการให้
การเสียชีวิตที่บ้าน
เจ้าของบ้านจะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปยังสำนักงานทะเบียนหรือเขตท้องถิ่น ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสียชีวิตเพื่อขอใบมรณบัตร
*การเสียชีวิตที่บ้าน ถ้าได้ติดต่อบริการรับจักงานศพจะส่งคนฉีดยาฟอร์มาลินเข้าไปในศพให้
สรุปเตรียมนำหลักฐานไปแจ้ง สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่นะ
- หนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) เป็นบันทึกจากโรงพยาบาล(แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่เสียชีวิต)หรือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีที่บ้าน
โทรศัพท์หมายเลข 1548 เพื่อรับฟังข้อมูลในระบบอัตโนมัติ เกี่ยวกับงานทะเบียน บัตร ติดต่อสอบข้อมูล และสอบถามปัญหากับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง (สำนักบริหารทะเบียน www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/1548-service)
<2. การนำศพไปวัด
หาวัดใกล้ๆสะดวกๆติดต่อไปที่วัด แจ้งวันนำศพไปตั้งสวดบำเพ็ญกุศล สวดกี่วัน จำนวนแขกโดยประมาณ การเคลื่อนย้ายศพไปวัดให้แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือหาร้านดอกไม้งานศพจะมีบริการสิ่งต่างๆเหล่านี้นำรถส่งศพ นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพเคลื่อนไปสู่วัดที่ตั้งสวดบำเพ็ญกุศล ทั้งนี้ญาติหรือลูกๆอาจจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายศพด้วยเสื้อผ้าตัวโปรด และอย่าลืมรูปภาพตั้งหน้าศพ
แจ้งข่าว
- แจ้งวันงาน สวดอภิธรรมกี่วัน
- วันเวลารดน้ำศพ
- พิธีกร(มัคทายกที่วัด) ของชำร่วยงานศพ อาหารงานศพ ดอกไม้หน้าหีบศพ ดอกไม้ประกอบพิธี ดอกไม้จันทน์ เตรียมคำไว้อาลัยวันเผา เงินทำบุญแต่ละคืน เงินบำรุงศาลาวัด และควรให้เงินผู้ดูแลประจำศาลา
3. การอาบน้ำศพ
ชำระร่างกายศพให้สะอาดแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต เป็นหน้าที่ของลูกๆโดยเฉพาะใม่ควรเป็นบุคคลอื่น หลังจากนั้นจึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอรดน้ำตามเวลา นำศพนอนที่ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย หงายฝามือขวาให้ผู้ที่มารดน้ำศพมาทางปลายเท้า มีผ้าคลุมศพให้เรียบร้อยเช่น ผ้าแพร เตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใหญ่โรยกลีบดอกไม้ผสมน้ำให้เข้ากัน นำขันเล็กตักน้ำเพื่อยื่นให้แขก
พิธีรดน้ำศพบุคคลทั่วไป โดยประมาณเวลา16.00 - 17.00 น. เป็นที่นิยมรดน้ำศพกัน หรือเวลาอื่นๆตามสะดวก ก่อนเริ่มพิธีรดน้ำศพเชิญประธานในพิธี จุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน ลูกหลานรดน้ำศพก่อนเพื่อให้แขกไม่รอนาน ลูกๆหลานๆเป็นผู้ที่รับหน้าที่ตักน้ำรดน้ำศพให้กับแขก สุดท้ายให้อาวุโสสูงสุดเป็นคนรดน้ำศพเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการ
พิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ประธานที่จะรดน้ำศพจะต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ ๑ ครั้ง รับน้ำหลวงอาบศพจากเจ้าหน้าที่พระราชวัง ให้รดน้ำหลวงบริเวณทรวงอกศพ รดน้ำขมิ้นน้ำอบไทย ให้ถวายคำนับความเคารพในทิศเดิม จึงเสร็จพิธีการ
บุคคลทั่วไปที่มารดน้ำศพ น้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิษฐานขอขมา
4. การจัดศพลงหีบ
เจ้าหน้าวัดเป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพต่อไป สำหรับศพที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวง ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ การจัดตั้งศพ เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว จะมีตะเกียง โคม โดยจะหรี่ไฟที่ปลายเท้าศพ
- การอาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบในพิธีราชการ จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป(หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์(บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา ขั้นตอนนี้ให้เจ้าภาพ และญาติๆ กรวดน้ำถือเป็นขั้นตอนเสร็จพิธี
- ส่วนกรณีศพประชาชนคนทั่วไป นินต์พระสงฆ์ 1 รูปในปัจจุบันนิยมเท่านี้ แต่ถ้าต้องการนิมนต์มากกว่านี้ก็ทำได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของเจ้าภาพ เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนที่ได้เตรียมไว้หรือที่หีบศพ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (คือผ้าไตรจีวร สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็น อันเสร็จพิธีการตั้งศพ
* ผ้าบังสกุลหมายถึง คลุกฝุ่น หรือเปื้อนฝุ่น เป็นการใช้เรียกผ้าที่พระชักจากศพในสมัยก่อน จุดมุ่งหมายการทอดผ้าบังสุกุลเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ
5. งานบำเพ็ญกุศล งานสวดพระอภิธรรม
การสวดพระอภิธรรมประจำคืน นิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน 7 คืน ให้ตกลงกับทางวัดส่วนที่นิยมมากสุดจะเป็น 3 คืนค่าใช้จ่ายจะประหยัดสุด (แต่มีบางกรณีหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปณกิจศพ) เวลาเริ่มสวดประมาณ 18.30 น. หรือขึ้นอยู่กับวัดนั้นๆ ถ้ามีงานศพมากพระต้องสวด 2 ศาลา กรณีแบบนี้ศาลาท้ายจะเริ่มสวดชั้าหน่อย สำหรับดอกไม้หน้าหีบศพเพื่อสมเกียรติมองดูสวยงามคลายความโศกเคร้ายิ่งจำนวนวันสวดหลายวัน แขกมาร้วมงามมากหรือผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงมีผู้นับถือมาก ญาติๆลูกหลานท่านใดมองหาดอกไม้งานศพราคาถูก สวยหรูทางร้านฯมีบริการนะคะ เป็นดอกไม้ประดิษฐ์เหมือนจริง บริการเข้าไปจัดวางที่ศาลางานพิธี หรือสถานที่อื่นๆตามระบุได้ค่ะ
ตัวอย่างดอกไม้งานศพจัดสวน
ค่าใช้จ่ายดอกไม้ อาหารหรือขนมงานศพสำหรับแขกที่มาร่วมงาน
ตัวอย่างดอกไม้งานศพจัดสวนที่ทางร้านฯมีบริการรับจัดทำ การจัดสวนแบบนี้ทำให้ภายในงานดูสบายใจขึ้น ลดโทนของงานศพลงได้บางส่วนส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ตามวัดดังในกรุงเทพฯ ปริมณฑลเล็กน้อย ราคาจัดสวนแบบนี้ร้านพวงหรีดทั่วไปประเมินกันที่ 35,000 - 60,000 บาท คลิกดูรายการดอกไม้งานศพ
หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ควรใช้ดอกไม้งานศพแบบกอกันค่ะ เช่น 5 กอ 7 กอ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4,500 - 6,000 บาท
อาหารเช่นกระเพาะปลา ราคาประมาณ 40 - 60 บาท ขนมปังต่างๆ ราคา 20 - 80 บาท
ประหยัดมากขึ้นใช้ดอกไม้ประดิษฐ์ บางวัดมีให้ยื้มแต่ไม่ทุกวัด ดอกไม้ประดิษฐ์มีข้อดีตรงราคาไม่แพง สามารถเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปเป็นอาหารเลี้ยงแขกได้
จำนวนวันสวดวันอภิธรรม ที่นิยมทั่วไป 3-5 วัน
หากผู้ตายเป็นที่เคารพนับถือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คนที่เคารพพรักมาก จะมีการจองเป็นเจ้าภาพตามประเพณีนิยมของสังคม
การบำเพ็ญกุศล 50 วัน และ 100 วัน ควรเป็นงานของกลุ่มเจ้าภาพ ญาติๆเท่านั้น ไม่นิยมให้ใครเป็นเจ้าภาพโดยเฉพาะเจาะจง แต่ถ้ามีผู้ที่มีจิตศรัทธาก็สามารถเลือกสวดตามวันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมจนครบกำหนดเช่น 100 วัน เช่นวันอังคารให้สวดเฉพาะวันนี้
ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม
- นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ เตรียมน้ำดื่ม น้ำร้อน น้ำชา ปัจจุบันเจ้าหน้าที่วัดอาจจะเตรียมไว้ให้
- เชิญเจ้าภาพหรือประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูปเทียนบูชาพระธรรม และจุดเครื่องทองน้อยหน้าศพเรียงตามลำดับกันมา
- ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล ทุกคนรับศีล (ศาสนพิธีกร คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการพิธีทางศาสนา มีความรอบรู้ในด้านพิธีการต่างๆ)
- พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ครบ 4 จบ (3 จบ แขกพักทานของว่าง และอีก 1 จบเสร็จสิ้นพิธี) หรืออาจจะต่อเนื่อง 4 จบขึ้นอยู่กับวัด
- นำเครื่องไทยธรรม เข้าไปตั้งที่เบื้องหน้าพระสงฆ์ ควรปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
- เชิญประธาน เจ้าภาพ ญาติผู้ใหญ่ ถวายเครื่องไทยธรรม
- เมื่อพระสงฆ์รับเครื่องไทยธรรมแล้ว ให้นำเครื่องไทยธรรมออกมาไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เพื่อจะได้ถวายพระสงฆ์
- ศาสนพิธีกรลาดภูษาโยง เป็นหน้าที่ของศาสนพิธีกร (ภูษาโยงคือ แถบผ้าที่ใช้ส าหรับสดับปกรณ์หรือบังสุกุลศพแทนการใช้สายสิญจน์)
- เชิญผ้าไตรหรือผ้าสบง ให้เจ้าภาพหรือประธานทอดบนภูษาโยงในลักษณะขวางภูษาโยง
- พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล พระสงฆ์อนุโมทนา
- เจ้าภาพ หรือประธาน กรวดน้ำ - รับพร
- เสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมประจำคืน
* ผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ทางวัดหรือทางฌาปณสถาน จะมีบริการจัดหาให้
อาหารเลี้ยงแขก
ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขก ที่มาฟังสวดทุกคืน ปัจจุบันนิยมกันเช่น ขนมกล่องภายในมีน้ำผลไม้ ขนมปัง ร้านดังแบรนด์ต่างๆ
6. การบรรจุเก็บศพไว้ก่อน
การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปณกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป ต้องกระทำในขั้นตอนครบสวดจบสุดท้ายเสร็จสิ้น
- ญาติๆตกลงกันเก็บศพวันใด กี่วัน ให้ตกลงกับทางวัดซึ่งญาติเป็นผู้กำหนดระยะวัน
- ปัจจุบันทางวัดเตรียมจัดหาใว้ให้ หรือถ้าไม่ให้ญาติเตรียม ดอกไม้ ผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้แจกแขกผู้มาร่วมงาน
- นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล 1 รูป ไว้ในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรมเพื่อดำเนิน
บรรจุเก็บศพเพื่อ ญาติมีความเห็นหร้อมกันรอความพร้อมที่จะจัดงานฌาปนกิจศพ
ขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีบรรจุศพ
เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประกอบพิธีบรรจุศพ ณ บริเวณหน้าที่ตั้งศพ
- เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบังสุกุล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
- เชิญประธานในพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำ และช่อดอกไม้บนพานหน้าศพ ตามลำดับ
- เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยังสถานที่เก็บศพสุดท้าย
7. การฌาปณกิจศพ
การฌาปฌกิจศพคือ การเผาศพด้วยความร้อนภายในเมรุ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำให้เป็นที่แน่นอน ส่วนใหญ่ก็วัดถัดไปหลังจากสวดอภิธรรมครบ
- แต่ถ้าบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกครั้งหนึ่งโดยสวดก่อน 1 คืน (หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก ทำเพียงยกศพขึ้นตั้ง เรียกกันว่า “ตั้งเช้า เผาเย็น” แต่ไม่ควรทำหากท่านเป็นบุพการี เพื่อระลึกถึงผู้ตาย) หลังจากสวดอถิธรรมจบวันถัดไปจึงมาทำพิธีฌาปณกิจ
การบำเพ็ญกุศลหน้าศพ ควรจะบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อนดังนี้
- บวชหน้าไฟ เป็นการให้ลูกหลานบวช สะดวกเรื่องเวลาก็พระภิกษุหรือสามเณร
- ถวายภัตตาหารเพล นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป สวดพระพุทธมนต์ อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มมากกว่านี้ได้
- พระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
- นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุล (ทั่วๆไปจำนวนพระสงฆ์ 10 รูป หรือเท่าอายุผู้ตายแบบนี้ไม่ค่อยได้พบเห็น)
- ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นอันเสร็จขั้นตอนพิธี
สิ่งที่ต้องเตรียมหากทางวัดไม่มีจัดการให้
- เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนต์ฉันเพล (ดูความหมายเครื่องไทยธรรม)
- เครื่องไทยธรรมผ้าไตร และเครื่องติดกัณฑ์เทศน์ถวายพระเทศน์
- ผ้าไตรประธานเพื่อทอดบังสุกุล และมหาบังสุกุลก่อนทำการฌาปณกิจ
- ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด
- เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานในพิธี (ปัจจุบันทางวัดหรือฌาปณสถาน จะมีบริการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่หากทางเจ้าภาพอยากจะ จัดก็จัดหามาเองก็ได้)
เคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุ
การเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุควรให้ลูกหลาน หรือผู้ที่ใกล้ชิดผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ ให้ตั้งจิตหรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนาม ผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด) เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน
- การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ โดยเวียนจากทางขวาไปซ้ายของเมรุ
- เจ้าภาพ ญาติๆ ของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย มีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพที่ตั้งไว้ขณะบำเพ็ญกุศลไปในขบวนด้วย และมีคนถือเครื่องทองน้อย(กระถางธูปนำหน้าศพ) ตามหลังพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำขบวน สรุปถือหลักการดังนี้ "พระ กระถางธูป รูปภาพ ศพ ญาติมิตร"
- เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
- การทอดผ้าบังสุกุลขึ้นอยู่กับจำนวนแขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่ได้เชิญไว้
- ลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นลำดับสุดท้าย
- เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป
วิธีปฎิบัติการเผาศพ
นิยมยืนตรงห่างจากศพประมาณ 1 ก้าว
- สวมเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ เครื่องแต่งการทั่วไป นิยมน้อมไหว้พร้อมทั้ง ธูปเทียนดอกไม้จันทน์ที่อยู่ในมือ โดยธรรมเนียมใช้กับศพนั้นมีอาวุโสสูงกว่าตน หรือรุ่นราวคราวเดียวกัน พร้อมตั้งจิตขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (สิ่งไดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว ให้วางธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ ที่เชิงตะกอน
- ยืนตรงโค้งคำนับ หรือยกมือไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"
สรุปตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพวันเผา
ช่วงเวลา 9.00 - 11.00 น
- นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
- เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
- พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
- ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
ช่วงเวลา 12.00 - 15.00 น
- เลี้ยงอาหารกลางวันแขกที่มาในงาน
- นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
- เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
- อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวาย กัณฑ์เทศน์
- นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
- เคลื่อนศพเวียนเมรุ 3 รอบ และเชิญศพขึ้นสู่เมรุ
ช่วงเวลา 16.00 น
- พิธีกรอ่านประวัติผู้ตาย(ถ้ามี) และยืนไว้อาลัย
- เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล
- ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ เป็นลำดับสุดท้าย
- เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง
8. การเก็บอัฐิ
ในพิธีการเก็บอัฐินิยมทำตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น หลังจากวันฌาปนกิจศพเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะ ต้องเตรียมในพิธีเก็บอัฐ
- โกศสำหรับใส่อัฐิ
- ลุ้งสำหรับใส่อัฐิและอังคารที่เหลือ เพื่อนำไปลอยอังคาร
- ผ้าขาวควรเตรียม 2 ผืน สำหรับห่อลุ้งที่ใส่อังคาร
- ผ้าบังสุกุล หรือผ้าไตร สำหรับทอดบังสุกุลก่อนเก็บอัฐิ
- น้ำอบไทย 1 ขวด ดอกมะลิ ดอกไม้(กลีบดอกกุหลาบ) เหรียญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐิ)
- อาหารคาวหวาน จัดใส่ปิ่นโต (สำหรับถวายพระสงฆ์) นิยมจัด 3 ชุด โบราณเรียกว่าพิธี 3 หาบ
- นิมนต์พระสงฆ์ 3 รูป (ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม)
9. ลอยอังคาร
นิยมนำไปลอยกันที่ทะเล หรือแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพหรือญาติๆ ด้วยความเชื่อที่ว่าเพื่อให้ผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์ การแต่งกายเพื่อไปลอยอังคารควรแต่งตัวให้เรียบร้อย
สถานที่ที่นิยมไปลอยอังคารเช่น
- ท่าน้ำสโมสรนายเรือสมุทรปราการ โทร 089-766-8400 ค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 - 6,000 บาท
- ท่าเรือปากเกร็ด หรือวัดแคนอก จ.นนทบุรี
- กองขนส่งฐานทัพเรือ สัตหีบ จ.ชลบุรี โทร 033-147-689 , 095-723-3739
- พระสมุทรเจดีย์ โทร 087-074-9721
- หน้าวัดหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
- ท่าน้ำวัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
- หน้าวัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
- ผู้ประกอบการ หนึ่งลอยอังคาร เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โทร 097-394-5532
- เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โทร 097-394-5532, 087-345-5969 ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 - 3,000 บาท
- ผู้ประกอบการ บ้านแพรวาบริการเรือลอยอังคาร แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โทร 089-461-1152
ลอยอังคารกับผู้ประกอบการที่รับทำหน้าตรงนี้สะดวกกว่าที่จะไปหาเรือแล้วนิมนต์พระไปลอยกันเองนะคะ ค่าใช้จ่าย 500 - 8,000 บาท แล้วแต่การจัดเตรียมอุปกรณ?อำนวนความสะดวกต่างๆ